วันพุธที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

GIS-health

ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ทรัพยากรสุขภาพ รพ.สต.บ้านกระดึ

ดาวน์โหลด

ทดสอบ

กิจกรรม/ผลงานเด่น

ผลงานเด่นด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
         ตำบลดู่ได้มีการจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุขึ้นเมื่อมี 2552 มีกรจัดตั้งคณะกรรมการชมรม และมีการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของชมรมเรื่อยมา และในมี 2558 ได้มีการจัดกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุที่เด่นชัดเป็นรูปธรรมมากขึ้น ดังนี้

ในด้านการดูแลสุขภาพ
          - ได้มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.ในการคัดกรองผู้สูงอายุเบื้องต้น ตรวจคัดกรอง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ประเมินซึมเศร้า ตรวจฟัน ตรวจคัดกรองสายตา และประเมินตามแบบประเมิน ADL แบ่งผู้สูงอายุออำเป็น 3 กลุ่ม ติดบ้าน ติดเตียง ติดสังคม



           - มีการพัฒนาศักยภาพ อสม.อีก ร้อยละ 62.5 ของ อสม.ทั้งหมด ในการอบรมเป็นอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ เพื่อการดูแลผู้สูงอยุในแต่ละกลุ่ม ในการดูแลผู้สูงอายุระยะยาว
          - มีการให้ความรู้ จัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างอาชีพ หารายได้ เช่น การจัดทำโลงศพ การจัดทำดอกไม้จันทน์ การจักสาน การทอเสื่อ เป็นต้น
          - การติดตามเยี่ยมบ้านร่วมกันกับท้องถิ่น และภาคีเครือข่าย
          - จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในวันสงกรานต์
          - สนันสนุนกิจกรรมตาม ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา

สำหรับในส่วนของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดู่
          
         - พัฒนาศักยภาพของชุมชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลผู้สูงอายุแบบองค์รวม
         - ให้บริการ 60 ปี ไม่มีคิว          
         - ให้บริการสุขภาพผู้สูงอายุภาพมาตรฐานการให้บริการผู้สูงอายุ
         - พัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุระยะยาวโดยทีมสุขภาพร่วมกับชมรมผู้สูงอายุ          
         - ให้บริการ Home Health Care แก่ผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียง

ทำเนียบเจ้าหน้าที่

นางพรรณวณี บุญปัญญา
ผอ.รพ.สต.ดู่ อ.ปรางค์กู่



นางนางจิตร์จารึก  ทองทับ 
พยาบาลวิชาชีพชำนาญการ 


นางสาวยุพิณ   ไฮกัญญา
เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน 


นางนวลศรี  ทองดี
ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย


นางสาวศรุภา แสงขาวอาธิอร
พนักงานบริการ


นางรำไพ   ทองดี
พนักงานจ้างทำความสะอาด

วิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม และเป้าประสงค์

วิสัยทัศน์ขององค์กร
          พัฒนาคุณภาพบริการได้มาตรฐาน     ทีมงานสามัคคี   การมีส่วนร่วมของชุมชนและประชาชนสุขภาพดีอย่างยั่งยืน
 
พันธะกิจ
          1. พัฒนาคุณภาพบริการให้ได้มาตรฐาน
          2. พัฒนาสภาพแวดล้อมให้ดี และสวยงาม
          3. พัฒนาระบบสารสนเทศให้เกิดความ รวดเร็ว และ มีคุณภาพ
          4. ส่งเสริมให้ประชาชน ชุมชน/องค์กรท้องถิ่นมีส่วนร่วมในสร้างเสริมสุขภาพ  และ การจัดการสุขภาพอย่างเหมาะสม
          5. ให้บริการด้านสุขภาพแบบองค์รวม ทั้งเชิงรุก  เชิงรับครอบคลุมและให้ประชาชน มีส่วนร่วม  ในการดูแลสุขภาพตนเอง


ค่านิยมหลักขององค์กรเมื่อเทียบเคียงจาก 11 ข้อ
          1. ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพโดยยึดผู้รับบริการเป็นศูนย์กลาง
          2. ทำงานโดยยึดหลักการทำงานเป็นทีมและเคารพมติส่วนใหญ่
          3. ให้บริการโดยยึดหลักเสมอภาค
          4. ให้เกียรติและยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น   ไม่กล่าวโทษซึ่งกันและกัน
          5. เคารพและรักษากฎระเบียบวินัยขององค์กร
          6. เมื่อมาปฏิบัติงานพบหน้ากันจะยิ้มไหว้ ทักทาย สวัสดีกัน
          7. สร้างและจัดองค์กรให้เป็นสถานที่น่าอยู่ น่าทำงาน สะอาดและปลอดภัย
          8. ให้ความร่วมมือในการเข้าประชุม/ ทำกิจกรรม/ โครงการต่างๆ
          9. ให้ความร่วมมือในการประหยัดพลังงาน
          10. การแต่งกายสุภาพเหมาะสมถูกต้องตามข้อตกลงขององค์กร
          11. ให้บริการผู้มาติดต่อราชการให้ได้รับความสะดวก รวดเร็วเป็นอย่างดี และยินดีต้อนรับผู้มารับบริการด้วยความเต็มใจ ยิ้มแย้ม แจ่มใส พูดจาไพเราะกับทุกๆคน
          12. ส่งเสริมสุขภาพและเป็นแบบอย่างที่ดีด้านสุขภาพ เช่น การรับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ, การสวมหมวกกันน็อค, การคาดเข็มขัดนิรภัย, การออกกำลังกาย เป็นต้น
          13. จะร่วมมือกันในการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง

เป้าประสงค์
          1. ผู้รับบริการมีความอุ่นใจและเชื่อมั่นในคุณภาพการรักษาและการบริการ
          2. ระบบบริการทางการแพทย์มีประสิทธิภาพมีการใช้เทคโนโลยีอย่างพอประมาณตามหลักวิชาการอย่างถูกต้องเหมาะสม
          3. มีหลักประกันสุขภาพที่เป็นธรรมทั่วถึงมีคุณภาพ
          4. มีระบบภูมิคุ้มกันที่สามารถรองรับความพร้อมในการลดผลกระทบจากโรคและภัยคุกคามสุขภาพได้อย่างทันการณ์
          5. ตำบลดู่ สามารถลดการป่วยและตายด้วยโรคที่เป็นปัญหาของจังหวัดได้
          6. มีทางเลือกสุขภาพที่หลากหลายผสมผสานแพทย์ทางเลือกอย่างรู้เท่าทันและพึ่งตนเองได้
          7. ชาวตำบลดู่ มีวัฒนธรรมและวิถีชีวิตสุขภาพที่มีความสุขพอเพียงอย่างเป็นองค์รวม

          8. ระบบสุขภาพชุมชนและเครือข่ายบริการปฐมภูมิที่เข้มแข็ง

ข้อมูลทั่วไป

ข้อมูลทั่วไปและสภาพแวดล้อมขององค์กร

ประวัติความเป็นมาและข้อมูลโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดึ
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลกะดึ เดิมชื่อ สถานีอนามัยบ้านกะดึ ตั้งอยู่ที่ บ้านดู่ หมู่ที่ 1 ก่อสร้างเมื่อปี 2524 โดยการบริจาคที่ดิน ติดกับชุมชนบ้านดู่ หมู่ 1 ตำบลดู่ อำเภอปรางค์กู่ และเริ่มเปิดให้บริการเมื่อปี 2524 ซึ่งเป็นแบบแปลนตามโครงการประชากรพื้นที่ใช้สอย 55 ตารางเมตร พื้นสถานีอนามัยแบบต่ำ มีบ้านพัก จำนวน 2 หลัง 
ปี 2546 ได้รับงบประมาณสนับสนุนก่อสร้างสถานีอามัยทดแทน ตามแบบ 8170/2536 ก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2547 มีพื้นที่ใช้สอย 150 ตารางเมตร



ปี 2548 ได้ต่อเติมอาคารด้านล่างสถานีอนามัย โดยได้รับเงินจากการจัดทำผ้าป่าข้าวเปลือก ผ้าป่าจากเยาวชนตำบลดู่ และจากพี่น้องตำบลดู่ และก่อสร้างอาคารด้านล่างแล้วเสร็จและให้บริการ ในปี 2549 และปรับปรุงอาคารหลังเดิมเป็นอาคารแพทย์แผนไทยจนถึงปัจจุบัน 
ปี 2554 ได้ยกระดับจากสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 
ปี 2557 ได้มีการก่อสร้างต่อเติมด้านหลังอาคารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดู่ เพื่อสร้างเป็นห้องข้อมูลข่าวสาร ห้องพักเจ้าหน้าที่ และห้องเก็บเวชภัณฑ์ยา เวชภัณฑ์มิใช่ยา และก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้ในปี 2558 จนถึงปัจจุบัน 

สภาพพื้นที่ตั้ง
         โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลดู่ ตำบลดู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของอำเภอปรางค์กู่  ระยะทาง  10  กิโลเมตร  ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ  ระยะทาง  70  กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ
        ทิศเหนือ   อาณาเขตติดต่อกับ   ตำบลพิมาย อำเภอปรางค์กู่
        ทิศใต้        อาณาเขตติดต่อกับ   ตำบลปราสาท อำเภอขุขันธ์  
        ทิศตะวันออก  อาณาเขตติดต่อกับ ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่
        ทิศตะวันตก   อาณาเขตติดต่อกับตำบลกู่ อำเภอปรางค์กู่ 
และตำบลหนองแวง อำเภอศรีณรงค์  จังหวัดสุรินทร์

ลักษณะภูมิประเทศ    
ลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ลุ่ม มีแหล่งน้ำธรรมชาติ สภาพดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ ทำให้ฤดูแล้งมีความแห้งแล้งมาก ดินมีคุณภาพต่ำ

สภาพภูมิอากาศ 
       ลักษณะอากาศทั่ว ๆ ไป  มีอากาศร้อนจัดในฤดูร้อน  และหนาวจัดในฤดูหนาว  เพราะได้รับอิทธิพลลมหนาวจากประเทศจีน ทำให้อากาศหนาวเย็น  และแห้งแล้งทั่วไป  ส่วนในฤดูฝนจะมีฝนตกในช่วงเดือนสิงหาคม – กันยายน เมื่อพิจารณาลมฟ้าอากาศแล้ว  แบ่งได้ เป็น  3  ฤดูกาล  ดังนี้
       ฤดูร้อน ตั้งแต่เดือน กุมภาพันธ์ – เมษายน
       ฤดูฝน ตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – ตุลาคม
       ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน – มกราคม

สภาพเศรษฐกิจ
         ประชากรส่วนใหญ่  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  รองลงมาประกอบอาชีพรับจ้าง และค้าขาย
        อาชีพที่ทำรายได้ให้กับประชากรมากที่สุด  คือ  เกษตรกรรม  โดยพืชที่นิยมปลูก ได้แก่  ข้าว  และพืชไร่  ได้แก่  ยางพารา  อ้อย  มันสำปะหลัง
        ด้านการเลี้ยงสัตว์  เกษตรกรส่วนใหญ่นิยมเลี้ยงไว้เพื่อบริโภคภายในครอบครัว  และนำบางส่วนมาจำหน่ายเพื่อเป็นรายได้เสริม

        ด้านอุตสาหกรรม  มีโรงงานอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าการเกษตร  ได้แก่  โรงสีข้าวขนาดเล็ก

สภาพสังคม
        เป็นสังคมชนบทแบบเกษตรกรรม  โดยภาษาที่ใช้  ได้แก่  ภาษาไทยอีสาน  ภาษาเขมร  และภาษากวย(ส่วย)  

การคมนาคม
        ตำบลดู่ ห่างจากตัวอำเภอปรางค์กู่ ประมาณ  10  กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ  20  นาที ห่างจากตัวจังหวัดศรีสะเกษ ประมาณ  70   กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ   1  ชั่วโมง  30 นาที

        การคมนาคมในตำบลดู่  มีถนนลาดยาง  ถนนคอนกรีตและถนนลูกรัง  เส้นทางที่สำคัญ  ดังนี้
        - ถนนลาดยางสายบ้านดู่ถึงบ้านหนองหิน ระยะทาง 2.5 กิโลเมตร
        - ถนนลูกรังบ้านดู่ถึงบ้านขาม ระยะทาง  5 กิโลเมตร
        - ถนนลูกรังบ้านดู่ถึงบ้านหนองคู  ระยะทาง  4 กิโลเมตร

การติดต่อสื่อสาร
        - หอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน จำนวน  13  แห่ง
        - โทรศัพท์บริการในหมู่บ้าน จำนวน  13  แห่ง
        - การติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์เคลื่อนที่ในทุกระบบ สามารถติดต่อครอบคลุมเต็มพื้นที่

ระบบสาธารณูปโภค
        - มีไฟฟ้าใช้ทุกหลังคาเรือนการไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน
        - มีระบบประปาหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน

การศึกษา
      ระดับก่อนวัยเรียน  มีจำนวน  5  ศูนย์ฯ  ดังนี้
                1. ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดโนนดู่
                    ( สถานที่ตั้ง :  บริเวณวัดโนนดู่ หมู่ 1 ) 


         ระดับประถมศึกษา  มีจำนวน  2 โรงเรียน  ดังนี้
                1. โรงเรียนบ้านหนองคูอาวอย
                    (สถานที่ตั้ง  : บ้านอาวอย   หมู่ที่ 8)

                2. โรงเรียนบ้านขามหนองครอง
                    (สถานที่ตั้ง  :  บ้านขาม  หมู่ที่ 7)


         ระดับมัธยมศึกษา  มีจำนวน  ๑ โรงเรียน  ดังนี้
                1. โรงเรียนหนองคูวิทยา
                     (สถานที่ตั้ง : บ้านหนองหาน  หมู่ที่ 12)

                   
         โรงเรียนขยายโอกาส (ระดับประถมศึกษา-มัธยมศึกษาศึกษาปีที่ 3 )  มีจำนวน 2  โรงเรียน  ดังนี้
1. โรงเรียนบ้านดู่  
                     (สถานที่ตั้ง : บ้านดู่   หมู่ที่ 1)

2. โรงเรียนบ้านหนองแวง
                     (สถานที่ตั้ง : บ้านหนองแวง   หมู่ที่ 6)

                
           ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน  มีจำนวน  1 แห่ง คือศูนย์การศึกษานอกระบบและตามอัธยาศัย (สถานที่ตั้ง : ศาลาประชาคมบ้าน  อาวอยตะวันตก หมู่ที่ 10 )

การศาสนา
   ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ร้อยละ  95  มีวัดและสำนักสงฆ์ จำนวน 6  แห่ง  ดังนี้                                                 
        1. วัดโนนดู่ (สถานที่ตั้ง  : หมู่ที่ 1 )
        2. วัดบ้านหนองหิน (สถานที่ตั้ง  : หมู่ที่ 2 )
        3. วัดขามหนองครอง (สถานที่ตั้ง  : หมู่ที่ 4)
        4. ที่พักสงฆ์บ้านหนองแวง  (สถานที่ตั้ง  :   หมู่ที่ 6)
        5. วัดหนองคูอาวอย   (สถานที่ตั้ง  :   หมู่ที่ 8) 
        6. สุสานไตรภพ (สถานที่ตั้ง : หมู่ที่ 10 )

ประเพณีและวัฒนธรรม
           เดือนอ้าย      ชาวบ้านจะทำบุญเลี้ยงผีต่าง ๆ 
           เดือนยี่       ชาวบ้านจะทำบุญบ้าน  บุญข้าวจี่
           เดือนสาม      ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาในวันมาฆบูชาที่วัด  ทำบุญตักบาตรในช่วงเช้าและกลางคืนชาวบ้านจะไปร่วมเวียนเทียน
           เดือนสี่       ทำบุญพระเวส  ฟังเทศน์มหาชาติ  นำของมาถวายที่วัด ซึ่งชาวบ้านเรียก "กัณฑ์หลอน"
           เดือนห้า  ทำบุญขึ้นปีใหม่หรือทำบุญสรงน้ำพระพุทธรูปซึ่งชาวบ้านจะเรียกว่า "ทำบุญกลางบ้าน"
           เดือนหก งานบุญบั้งไฟ  ขอให้ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล เพื่อการปลูกพืช
           เดือนเจ็ด       ทำบุญเทวาอารักษ์หลักเมือง (วีรบุรุษ) ซึ่งจะไปประกอบพิธีกรรมที่ดอนเจ้าปู่ตา
           เดือนแปด     ทำบุญเข้าพรรษา
           เดือนเก้า       ทำบุญข้าวประดับดิน  โดยนำข้าวและอาหารคาวหวานพร้อมหมากพลู ห่อด้วยใบตอง นำไปวางตามต้นไม้และพื้นหญ้าเพื่ออุทิศแก่ญาติผู้ล่วงลับไปแล้ว
           เดือนสิบ ทำบุญข้าวสากหรือข้าวสารท ซึ่งเป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลแก่ผู้ตาย
           เดือนสิบเอ็ด   ทำบุญออกพรรษา
           เดือนสิบสอง   ทำบุญกฐิน  พิธีถวายกฐิน

ปฏิทินทีมงาน สสอ.ปรางค์กู่

แผนที่ตั้งและพิกัด รพ.สต.บ้านกะดึ



ที่ตั้ง รพ.สต.บ้านกะดึ ต.กู่ อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ 
GPS: 14.845294, 103.907452 พิกัด 14°50'43.1"N 103°54'26.8"E


สสส